ไข้หวัดนก (Bird flu) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งคือ avian influenza โดยโรคไข้หวัดนกเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก โรคไข้หวัดนกนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก โดยเริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460-2461(ค.ศ.1918-1920) เรียกว่า “ไข้หวัดใหญ่สเปน” (Spanish Flu) เริ่มแพร่ระบาดจากฝั่งอาร์กติก มีประชากรผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 50-100 ล้านคน
สาเหตุโรคไข้หวัดนก
ไข้หวัดนกเกิดจากการที่เราได้รับเชื้อไข้หวัดนกมาจากสัตว์ปีก เมื่อได้รับเชื้อมาแล้วจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ หากอาการรุนแรงอาจจะทำให้ปอดติดเชื้อ โดยคนที่ได้รับเชื้อไวรัสหากได้สัมผัสกับมูลสัตว์ของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ และการหายใจสูดเอาเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
แม้ว่าไข้หวัดนกจะมีอยู่หลายประเภท แต่ H5N1 เป็นไวรัสไข้หวัดนกชนิดแรกที่แพร่เชื้อไปสู่มนุษย์ การติดเชื้อครั้งแรกเกิดขึ้นในฮ่องกงในปี 1997 การระบาดของโรคนี้เกิดขึ้นจากสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ
H5N1 แพร่กระจายสู่คนผ่านการสัมผัสกับอุจจาระของนกที่ติดเชื้อสารคัดหลั่งจากจมูกหรือสารคัดหลั่งจากปากหรือดวงตา
อาการของโรคไข้หวัดนก
คุณอาจติดเชื้อ H5N1 หรือไข้หวัดนกอาการจะคล้ายไข้หวัดใหญ่โดยจะเกิดอาการดังนี้:
- การหายใจติดขัด
- วิงเวียน
- เจ็บคอ
- มีไข้สูง(fever)
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- น้ำมูกไหล
- ปวดศีรษะ
- ท้องเสีย diarrhea
- ไอ cough
การรักษาโรคไข้หวัดนก
ไข้หวัดนกประเภทที่ต่างกัน อาจทำให้เกิดอาการต่างกัน เป็นผลให้การรักษาจะต้องแตกต่างกันออกไป
โดยส่วนใหญ่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเช่น oseltamivir (Tamiflu) หรือ zanamivir (Relenza) สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรค แต่จำเป็นจะได้รับยาภายใน 48 ชั่วโมงหลังการได้รับเชื้อ
ไวรัสที่สามารถพัฒนาความต้านทานต่อยาต้านไวรัสที่พบมากที่สุดสองรูปแบบคืออะแมนตาดีนและริมมันตาดีน (Flumadine) จะไม่สามารถใช้ยาเหล่านี้เพื่อรักษาโรคได้
การวินิจฉัยโรคไข้หวัดนก
การวินิจฉัยไข้หวัดนก กับการทดสอบที่เรียกว่าไพรเมอร์ RT-PCR ไวรัสเรียลไทม์ A / H5 (เชื้อสายเอเชีย) จะสามารถตรวจสอบผลของโรคเบื้องต้นได้ในเวลาเพียงสี่ชั่วโมง แต่ยังไม่เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางมากนัก
แพทย์อาจทำการทดสอบต่อไปนี้เพื่อค้นหาเชื้อของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดนก:
- การตรวจเอ็กซ์เรย์ปอด
- การตรวจความแตกต่างของเซลล์เม็ดเลือดขาว
- ตรวจฟังความผิดปกติของการหายใจ
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจากความผิดปกติของตับและไตได้
ใครที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนกบ้าง
เชื้อไวรัส H5N1 สามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นระยะเวลานาน นกที่ติดเชื้อ H5N1 สามารถแพร่เชื้อไวรัสในมูลของนกและน้ำลายต่อเนื่องนานถึง 10 วัน การสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนสามารถทำให้ติดเชื้อได้
และคุณมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะได้รับเชื้อไวรัส H5N1 ถ้าหากคุณ :
- ไปนยังสถานที่ที่มีการแพร่เชื้อระบาด
- สัมผัสกับมูลสัตว์ หรือสัตว์ที่ติดเชื้อ
- รับประทานสัตว์ปีกหรือไข่ไก่ที่ไม่สุก
- อยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
เราจะป้องกันไข้หวัดนกได้อย่างไร
ในการป้องกันโรคไข้หวัดนกแพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพื่อที่คุณจะไม่ได้รับเชื้อไข้หวัดนก และนอกจากนี้หากคุณเดินทางไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง คุณสามารถหลีกเลี่ยง ตลาดกลางแจ้ง หรือไม่จับนก และทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด หมั่นล้างมือเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
นี่คือลิงค์ที่มาของแหล่งบทความของเรา
https://medlineplus.gov/birdflu.html
https://www.nhs.uk/conditions/bird-flu/
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bird-flu/symptoms-causes/syc-20368455
https://news.un.org/en/tags/bird-flu
No Responses