โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ coronary artery diseaseคือ เกิดจากการเกาะของคราบไขมันภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนในหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังหัวใจไม่ดี ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด
หัวใจวายอาจมาจากสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของ CAD คืออาการของหลอดเลือดที่มีการสะสมของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ส่งผลให้หลอดเลือดตีบ การไหลเวียนของเลือดที่ลดลงเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงเส้นหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเส้นถูกขัดขวาง
เส้นเลือดหัวใจ มี 4 เส้นหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้:
- เส้นเลือดหัวใจด้านขวา
- เส้นเลือดหัวใจด้านซ้าย
- เส้นเลือดเลี้ยงผนังของหัวใจห้องล่างด้านซ้าย
- เส้นเลือดหัวใจแขนงซ้าย
หลอดเลือดแดงเหล่านี้นำออกซิเจนและเลือดที่อุดมด้วยสารอาหารมาสู่หัวใจของคุณ หัวใจของคุณเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายของคุณ หัวใจที่แข็งแรงจะมีการเคลื่อนไหวของเลือดประมาณ 3,000 แกลลอนในทุกวัน
เช่นเดียวกับอวัยวะหรือกล้ามเนื้ออื่น ๆ หัวใจของคุณจะต้องได้รับเลือดที่เพียงพอเพื่อการทำงานของหลอดเลือด การไหลเวียนในเส้นเลือด
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ จะมีการตรวจสอบประวัติทางทางการแพทย์ การตรวจร่างกายและการทดสอบทางการแพทย์อื่น ๆ ดังนี้:
- Electrocardiogram : การทดสอบนี้จะตรวจสอบสัญญาณไฟฟ้าที่เดินทางผ่านหัวใจ วิธีนี้ช่วยให้แพทย์ตรวจสอบหากอยู่ภาวะของอาการหัวใจวาย
- Echocardiogram : การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ
- Stress test : การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลัง การทดสอบจะตรวจดอัตราการเต้นของหัวใจเป็นการวัดการสูบฉีดเลือดในหัวใจของคุณระหว่างการออกกำลังกายและขณะพัก การทดสอบจะตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจขณะที่คุณเดินบนลู่วิ่งหรือขี่จักรยานอยู่กับที่
- Cardiac catheterization (left heart catheterization) :การตรวจสวนหัวใจ (สวนหัวใจซ้าย): แพทย์จะฉีดสีย้อมพิเศษลงในหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน แทรกผ่านหลอดเลือดแดงในขาหนีบหรือแขนของคุณ สีย้อมจะช่วยให้เห็นตำแหน่งการอุดตันของหลอดเลือด
- Heart CT scan: วิธีนี้เพื่อตรวจสอบปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดแดง
เวียนของเลือดที่ลดลงสู่หัวใจของคุณอาจทำให้เกิดอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เมื่อหัวใจไม่มีเลือดแดงในปริมาณที่เพียงพออาจส่งผลให้เกิดอาการหลายอย่าง อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีดังนี้:
- เจ็บหน้าอก
- อุ้ยอ้าย
- อึดอัด
- รู้สึกเหมือนมีแรงกดทับ
อาการเหล่านี้อาจถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการจุกเสียดหรืออาหารไม่ย่อย
อาการอื่น ๆ ของ CAD รวมถึง:
- ปวดแขนหรือไหล่
- หายใจถี่
- เหงื่อออก
- วิงเวียนศรีษะ
คุณอาจพบอาการที่รุนแรงขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดของถูกจำกัดมากขึ้น หากการอุดตันตัดการไหลเวียนของเลือดเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์แล้ว กล้ามเนื้อหัวใจของคุณจะเริ่มตายและหากไม่ได้รับการฟื้นฟู อาจทำให้เกิดหัวใจวาย
อย่าเพิกเฉยต่ออาการเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเริ่มมีอาการ หรือมีอาการนานกว่า 5 นาที ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลในทันที
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้หญิง
หากผู้หญิงมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจดังกล่าวข้างต้น อาการต่อไปนี้จะมีแนวโน้มร่วมด้วย เช่น:
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดหลัง
- ปวดกราม
- หายใจถี่โดยไม่รู้สึกเจ็บหน้าอก
ผู้ชายมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่าผู้หญิงในช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน ส่วนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุเกิน 70 ปี จะมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับผู้ชาย
การไหลเวียนของเลือดที่ลดลงจะส่งผลให้หัวใจอยู่ในภาวะดังนี้ :
- อ่อนแอ
- จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ Arrhythmia
- ไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้มากเท่าที่ร่างกายต้องการ
ปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ :
- ความดันโลหิตสูง
- ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- การสูบบุหรี่
- ความต้านทานต่ออินซูลิน / น้ำตาลในเลือดสูง / เบาหวาน
- ความอ้วน(diabesity)
- เฉื่อยชา
- มีนิสัยการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
- หยุดหายใจขณะหลับ
- ความเครียดทางอารมณ์
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- ประวัติของภาวะครรภ์เป็นพิษในระหว่างตั้งครรภ์
ความเสี่ยงสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้ชายจะมีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับคนที่อายุ 45 ปีขึ้นไปและผู้หญิงมีความเสี่ยงเริ่มต้นที่อายุ 55 ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจจะสูงขึ้นหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
สิ่งสำคัญคือการลดหรือควบคุมปัจจัยเสี่ยงและหาวิธีรักษาเพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองหากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ การรักษาจะขึ้นอยู่กับสภาพสุขภาพปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงและคุณภาพชีวิตโดยรวม ตัวอย่างเช่น แพทย์อาจกำหนดให้การรักษาด้วยยาเพื่อรักษาคอเลสเตอรอลสูงหรือความดันโลหิตสูงหรืออาจได้รับยาควบคุมน้ำตาลในเลือดหากคุณเป็นโรคเบาหวาน
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังสามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ตัวอย่างเช่น:
- เลิกสูบบุหรี่
- ลดหรือหยุดการดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ
- กินอาหารสุขภาพ (ไขมันต่ำ โซเดียมต่ำ)
หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการใช้ยา แพทย์อาจแนะนำขั้นตอนเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังหัวใจ ดังนี้:
- การทำบอลลูน (balloon angioplasty) : การขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น
- การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass graft surgery): เพื่อเรียกคืนการไหลเวียนเลือดไปยังหัวใจในการผ่าตัดหน้าอก
- เครื่องนวดกระตุ้นการทำงานหัวใจ ( enhanced external counter pulsation -EEC : เป็นเครื่องที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย และผลจากการที่ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานดีขึ้นนี้เอง
แนวโน้มของโรคหลอดเลือดหัวใจ
แนวโน้มของโรคหลอดเลือดหัวใจในแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป คุณยังมีโอกาสที่ดีกว่าในการป้องกันความเสียหายต่อการไหลเวียนของไปยังหัวใจของคุณ คุณสามารถเริ่มการรักษาหรือปรับเปลี่ยนการใช้วิถีชีวิต
การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ ใช้ยาตามคำแนะนำ หากคุณมีความเสี่ยงสูงโรคหลอดเลือดหัวใจสูง ควรหลีกเลี่ยงจากการอยู่ในปัจจัยเสี่ยง
เผยสถิติน่าตกใจคนไทยป่วยโรคหัวใจ 432,943 คนต่อปี
นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา
https://www.cdc.gov/heartdisease/coronary_ad.htm
https://medlineplus.gov/coronaryarterydisease.html
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/symptoms-causes/syc-20350613
No Responses