ไข้ออกผื่นคือ
ไข้ออกผื่น (Viral rashes) คือ อาการที่ติดเชื้อไวรัสบางประเภท ซึ่งมีตุ่มหรือผดผื่นปรากฏขึ้นมาตามร่างกาย ส่วนมากจะเกิดขึ้นในเด็กและมักจะมีอาการไข้ร่วมด้วย จึงเรียกไข้ชนิดนี้ว่า ไข้ออกผื่น
ไข้ออกผื่นแบบไม่มีไวรัสอาจเกิดมาจากเชื้ออื่นในร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราอย่างยีสต์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้หรือมีอาการแพ้เกิดขึ้นได้
ผื่นในไข้ออกผื่น เกิดจากการติดเชื้อของไวรัส ที่ทำให้เกิดผื่นแดงปรากฎขึ้นบนผิวหนังทั่วร่างกาย เช่น หน้าอกและหลัง แต่ไม่พบอาการคัน
ไข้ออกผื่นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ น้ำมูกไหล หรือมีอาการไอร่วมด้วยด้วย
ชนิดของไข้ออกผื่น
มีเชื้อรามากมายที่ทำให้เกิดอาการผื่น เมื่อได้รับการให้วัคซีนอย่างแพร่หลาย ทำให้พบเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้น้อยลง เช่น
ไข้ออกผื่นจากโรคหัด
โรคหัดมีชื่อที่รู้จักกันดีในนามของ โรคหัดรูบิโอลา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่พบได้ในระบบทางเดินหายใจ แต่ด่วยการมีวัคซีนใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เชื้อไวรัสตัวนี้ไม่ค่อยแพร่กระจายเหมือนในอดีต แต่หากยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันไวรัส ก็สามารถเป็นโรคหัดนี้ได้
อาการของโรคหัด มีดังนี้:
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
- มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
- มีอาการไอ
- มีอาการตาแดงหรือน้ำตาไหล
หลังจากที่มีอาการไข้มาได้ 3 ถึง 5 วัน ผื่นนั้นก็จะปรากฏออกมามี เป็นจุดแดงตามแนวเส้นผม ซึ่งจุดผื่นเหล่านี้สามารถกลายเป็นตุ่มน้ำที่แพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้
ส่าไข้หรือไข้หัดกุหลาบ
ไข้หัดกุหลาบ มักจะเรียกกันว่า ส่าไข้หรือไข้ไวรัสตัวที่ 6 ซึ่งเป็นไข้ที่พบได้ในเด็กที่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสในโรคเริมที่มีชื่อว่า human herpesvirus 6 หรือ HHV6 ซึ่งพบไข้หัดกุหลาบได้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี
อาการที่พบได้บ่อยของไข้หัดกุหลาบนั้น มีดังนี้:
- มีไข้ขึ้นสูงมากกว่า 40.6 องศาเซลเซียสนาน 3 ถึง 5 วัน
- มีไอ
- มีผื่นซึ่งมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ท้องและอาจจะปรากฏตามส่วนอื่นของร่างกายได้ มีลักษณะสีคล้ายสีกุหลาบ ซึ่งมักจะพบหลังจากที่ไข้หายไปแล้ว
เด็กที่เป็นไข้หัดกุหลาบมีความเป็นไปได้ที่จะมีอาการชักจากไข้เนื่องจากว่ามีไข้สูง ซึ่งภาวะนี้ไม่มีอันตรายอะไร แต่อาจทำให้หมดสติหรือมีอาการชักกระตุกได้
ไข้ออกผื่นจากโรคอีสุกอีไส
โรคอีสุกอีไสนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสของโรคงูสวัด การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคอีสุกอีไสนั้นเกิดขึ้นในกลางปี 2533 ดังนั้นจึงไม่ค่อยพบโรคอีสุกอีไสเหมือนในอดีตเท่าไหร่นัก
ซึ่งก่อนที่มีการฉีดวัคซีนนั้น มีเด็กเกือบทุกคนเป็นอีสุกอีไส
อาการโรคอีสุกอีไส มีดังนี้:
- มีไข้ต่ำ
- มีแผลพุพอง มีผื่นคันที่เกิดขึ้นอยู่บนลำตัวและศีรษะ มันสามารถแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกาย ก่อนที่จะตกสะเก็ดและสมานแผลจนหายดี
โรคฟิฟท์
โรคฟิฟท์นั้นมักเรียกกันว่าผื่นตบหน้าหรือผื่นผ้าลูกไม้ เกิดจากเชื้อไวรัสพาร์โวไวรัส บี19 ซึ่งอาการเริ่มต้นที่สังเกตได้ก่อนที่จะมีผื่นขึ้นหน้า ที่ส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็ก มีดังนี้:
- มีไข้ต่ำ
- อาการน้ำมูกไหลหรืออาการคัดจมูก
- มีอาการปวดหัว
- บางครั้งก็มีอาการอาเจียนหรือท้องเสีย
เมื่ออาการเหล่านี้เกิดขึ้น ผื่นจะปรากฏอยู่บนใบหน้าของผู้ป่วย ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยแดงเหมือนรอยตบที่หน้า และผื่นก็สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งมีลักษณะผื่นคล้ายลายผ้าลูกไม้ที่แขน ขา และลำตัว
ไข้ออกผื่นจากโรคหัดเยอรมัน
โรคหัดนี้ซึ่งรู้กันในนามของโรคหัดเยอรมัน ซึ่งโรคหัดนี้ ทำให้มีการฉีดวัคซีนขึ้นกันอย่างแพร่หลายกันหลายประเทศ
อาการของโรคหัดเยอรมัน มีดังนี้:
- มีไข้ต่ำ
- มีอาการตาแดง
- มีอาการไอ
- มีน้ำมูกไหล
- มีอาการปวดหัว
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม ซึ่งจะมีอาการบวมอยู่ที่หลังใบหู
- มีจุดแดงหรือชมพูอยู่ที่หน้าและแพร่กระจายไปยังร่างกาย ที่สามารถกลายเป็นผื่นที่ใหญ่ขึ้นได้
- มีผื่นคัน
โรคมือ เท้า และปาก
โรคมือ เท้า และปาก เกิดจากเชื้อไวรัสค็อกแซ็กกี้ เอ ซึ่งมักจะเกิดกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี แต่เด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
อาการโรคมือ เท้า และปากมีลักษณะต่อไปนี้:
- มีไข้
- มีอาการเจ็บคอ
- มีตุ่มพุพองในปาก
- มีจุดแดง แบนบนฝ่ามือและฝ่าเท้า และบางครั้งก็พบที่ข้อศอก หัวเข่า ก้น และอวัยวะเพศได้
- จุดแดงนั้นสามารถกลายเป็นตุ่มน้ำได้
การรักษาอาการไข้ออกผื่น
ส่วนมากนั้น อาการไข้ออกผื่นมักจะหายไปเอง เพราะผื่นนั้นเกิดจากเชื้อไวรัส แต่แพทย์จะแนะนำให้ปฎิบัติตามคำแนะนำดังนี้
- ให้ลูกรับประทานยาแก้ปวด เช่นยาอาเซตามีโนเฟน หากได้รับการอนุญาตจากแพทย์แล้ว แพทย์ก็จะแนะนำว่าให้รับประทานปริมาณเท่าไหร่และต้องรับประทานบ่อยแค่ไหน และไม่ควรให้รับประทานยาแอสไพริน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะมีอาการเรียกว่าโรคเรย์ซินโดรมได้
- ให้ลูกของคุณอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น ถ้าไม่มีไข้แล้ว หากลูกของคุณยังมีไข้อยู่ การอาบน้ำเย็นนั้นทำให้อุณหภูมิในร่างกายนั้นสูงขึ้น ซึ่งทำให้มีอาการสั่นได้
- เมื่อลูกของคุณอาบน้ำ ใช้สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว ซับตัวลูกให้แห้งสนิท ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิว
- สวมเสื้อผ้าที่หลวม โปร่ง เพื่อให้ระบายอากาศ
- พักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมากๆ
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้โลชั่นคาลามายน์หรือการับการรักษาผื่นคันด้วยวิธีอื่น
- หากผื่นมีอาการคัน ไม่ควรให้เด็กเกาตรงที่เกิดอาการคันเด็ดขาด ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อได้
การป้องกันไข้ออกผื่น
วิธีป้องกันไข้ออกผื่นเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสและการติดเชื้อ มีวิธีต่อไปนี้:
- ให้ลูกของคุณเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค โรคหัด โรคหัดเยอรมัน และโรคอีสุกอีไส
- ระวังเรื่องสุขอนามัยในเด็ก โดยให้คุณและลูกของคุณหมั่นล้างมือให้บ่อยขึ้น
- สอนให้ลูกของปิดปากและจมูก เมื่อไอและการจาม
- เฝ้าสังเกตลูกของคุณเมื่อมีอาการป่วย และไม่ให้เด็กคนอื่นเข้าใกล้ลูกของคุณ จนกว่าลูกของคุณนั้นจะหายจากการเป็นไข้
สถิติผู้ป่วยโรคไข้ออกผื่นในประเทศไทย
สถิตินี้ได้มาจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในรายงานสถานการณ์โรคหัด ปีพ.ศ.2561-2562 พบว่า สำหรับข้อมูลในปี 2562 จากฐานข้อมูลโครงการกำจัดหัด พบว่าระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 27ธันวาคม 2562 มีรายงานผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดทั้งสิ้น 9,134 ราย ซึ่งมีผู้ป่วยที่เป็นสัญชาติไทย 4,520ราย (ร้อยละ 90) อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย 1:1.3
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
https://www.nhs.uk/conditions/rashes-babies-and-children/
https://www.nhs.uk/conditions/rashes-babies-and-children/
https://www.medicalnewstoday.com/articles/326462
No Responses